ในช่วงที่อากาศแปรปรวนเสมือนมีหมอกปกคลุม บางครั้งอาจไม่ใช่หมอกแต่เป็นฝุ่นละอองที่มีปริมาณมากเกินขนาดจนเป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งอาจพบเป็นบางวันในช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน ผู้ที่มีโรคประจำตัวทางระบบหายใจ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรต้องระวังและใส่ใจดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้…
PM 2.5 คืออะไร?
- ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน คือ มลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์
- เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ดเลือด (5 ไมครอน) ดังนั้นฝุ่นพิษจึงสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้
- ฝุ่นมีลักษณะที่ขรุขระคล้ายสำลี ฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก
ฝุ่น PM 2.5 มาจากไหน ?
แหล่งกำเนิดสำคัญ คือ การจราจร โรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้ขยะสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ สามารถเข้าสู่ทางโพรงจมูก แล้วเข้าสู่กระแสเลือด
PM 2.5 ทำร้ายสุขภาพของเราโดยไม่รู้ตัว!!!
ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯ ปัจจุบันเกินค่ามาตรฐาน อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดย PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นขนาดเล็ก มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า สามารถแทรกซึมเข้าไปในร่างกายได้โดยตรงโดยการหายใจ ส่งผลร้ายต่อสุขภาพอย่างมากโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว
PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อร่างกายเราอย่างไร?
- แสบตา ตาแดง
- ผิวหนังอักเสบ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
- สมองมีพัฒนาการช้า สมาธิสั้น
- ภูมิแพ้กำเริบ หอบหืด
- มีไข้ ตัวร้อน
- แสบจมูก มีน้ำมูก ไอจาม
- อาจเป็นโรคร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต เช่น มะเร็งปอด หัวใจขาดเลือด ปอดอักเสบ เป็นต้น
สังเกตอาการ สัญญาณเตือนจากการแพ้ฝุ่น PM 2.5
- ผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มผื่น นูนแดงกระจายบนผิวหนัง
- ดวงตา ตาแดง เปลือกตาบวม มีน้ำตาไหล ใต้ตาช้ำมีสีคล้ำขึ้น
- ทางเดินหายใจ คัน แน่นในโพรงจมูก แน่นหน้าอก ไอ จาม มีน้ำมูกแบบใสๆ
- วิธีป้องกัน ฝุ่น PM 2.5 ที่ได้ผลดีที่สุดคือ การสวมหน้ากากกรองฝุ่น N95 (หน้ากากชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันฝุ่นขนาด 0.3 ไมครอนได้)
- สำหรับวิธีป้องกันอื่น ๆ เช่น
- กลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น
- ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าบ้าน หากปิดหน้าต่างไม่ได้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดมาปิดแทนหน้าต่าง
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำงานหนักนอกบ้าน
- ดื่มน้ำมาก ๆ
- งดสูบบุหรี่ในช่วงที่พบฝุ่นละอองในอากาศมาก
- ไม่เผาขยะ โดยเฉพาะขยะที่มีสารพิษ เช่น พลาสติก ยางรถยนต์ รวมทั้งขยะทั่วไป
- ลดการใช้รถยนต์ หรือใช้เท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้มลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ทำให้อากาศแย่ไปกว่าเดิม